“ข้อมูล” เป็นอีกหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรใน “โลกยุคดิจิทัล” ที่มีการแข่งขัน และดิสรัปชั่นอย่างรุนแรง ธุรกิจหรือองค์กรไหนสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดการและใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ย่อมหมายถึงการแซงหน้าคู่แข่ง และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“นักวิศวกรรมข้อมูล นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักบริหารจัดการข้อมูล” ล้วนเป็นสาขาอาชีพที่กำลังขาดแคลน และต้องการกำลังคนอย่างมหาศาล “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” ซึ่งได้เปิดการเรียนการสอนมาแล้วกว่า 5 ปี มุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านนี้ เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนของประเทศ ตอนนี้เปิดรับสมัครแล้ว และมีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อโลก
โดยหลักสูตรปัจจุบันเน้นทฤษฎีและเครื่องมือใหม่ ๆ ทางด้านเทคโนโลยีด้าน Cloud Computing, Internet ofThings (IOT), ปัญญาประดิษฐ์, การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), ธุรกิจอัจริยะ (Business Intelligence) และวิศวกรรมซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
จุดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ นิสิตจะได้เรียนรู้พร้อมการปฏิบัติงานจริง พร้อมกับได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านข้อมูล รวมถึงมีส่วนร่วมกับคณาจารย์ของวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่มีการทำงานวิจัย และบริการงานวิชาการในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลให้แก่องค์กร หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน
ดร.ธนภัทร ฆังคะจิตร ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Engineering College of Innovative Technology and Engineering) มธบ. กล่าวว่า “หลักสูตรดังกล่าวจะมีความแตกต่างจากหลักสูตรการบริหารจัดการข้อมูลอื่นๆ เพราะยังคงเน้นความเป็นวิศวกรข้อมูล โดยนิสิตที่เข้ามาเรียนจะมีทักษะในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่อย่างครบวงจร ตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลบนระบบผ่านคลาวด์ (Cluod) การบริหารจัดการข้อมูล การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์ การนำเสนอและใช้งานองค์ความรู้ที่สกัดได้ ขณะที่หลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล อาจจะเรียนเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น หลักสูตรวิทยาการข้อมูล จะเป็นการเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหลัก ดังนั้น นิสิตที่เรียนสาขาวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ จะมีความสามารถทั้งในด้านการคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะ รวมถึงสามารถจัดการระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อรองรับการประเมินผลบิ๊ก ดาต้าได้ด้วย”
ขณะที่ ดร.เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา อาจารย์ประจำหลักสูตร กล่าวเสริมว่า “คนที่มาเรียนสายนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องจบสายวิศวกรรมศาสตร์มา แต่ต้องเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับข้อมูล มีความกระตือรือร้น อยากเรียนรู้ สนใจข้อมูล อยากทดลอง ดังนั้น นิสิตที่มาเรียนกับเราจึงมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เภสัชกร นักธรณีวิทยา นิสิตที่จบสาขาบริหารธุรกิจ ซึ่งจบสาขาอะไรก็สามารถเรียนได้ ขอเพียงมีความตั้งใจจริง เพราะหลักสูตรเราได้บูรณาการให้นิสิตได้เน้นการทำโปรเจค เวิร์คช็อป และมีไอเดียใหม่ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งความต้องการกำลังคนด้านนี้ต้องการคนที่ทำงานได้ทันที นิสิตจึงรู้เพียงทฤษฎีอย่างเดียว ไม่เพียงพอ เราพยายามให้นิสิตได้เรียนรู้ในโลกของการทำงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงานจริงๆ เมื่อเขาจบการศึกษา ความรู้ด้านนี้จะไปช่วยเพิ่มเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง รวมถึงสามารถทำงานด้านข้อมูล อย่างเป็นนักวิศวกรข้อมูลขนาดใหญ่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือนักวิเคราะห์บริหารจัดการข้อมูลได้”
และไม่ว่าคุณจะจบจากสาขาไหนก็เรียนได้ ขอเพียงเป็นผู้ที่ชอบหรือคลุกคลีอยู่กับข้อมูล มีความกระตือรือร้น รักการเรียนรู้ และมีความสนใจวิเคราะห์ข้อมูล วันนี้โอกาสมาถึงแล้ว ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://cite.dpu.ac.th/bigdata/ และ FB : Big Data Engineering – BD, CITE, DPU