ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ปฐมนิเทศออนไลน์ ตั้งชื่อนศ.ใหม่ รุ่น“สู้โควิด” ชู DPU Core 4 ปั้นบัณฑิตสู่ธุรกิจในยุค New Normal

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์ เปิดปฐมนิเทศผ่านช่องทางออนไลน์เป็นครั้งแรก วิกฤติในครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ทุกคนต้องเรียนรู้และนำบทเรียนมาปรับใช้เพื่อให้อยู่รอด จึงถือโอกาสนี้ตั้งชื่อรุ่นให้นักศึกษาเป็น รุ่น “สู้โควิด”  

ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวในโอกาสปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา2563 ผ่านช่องทาง Facebook Live ในเพจของมหาวิทยาลัยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ DPU เปิดปฐมนิเทศผ่านช่องทางออนไลน์ครั้งแรก วิกฤติในครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ทุกคนต้องเรียนรู้และนำบทเรียนมาปรับใช้เพื่อให้อยู่รอด ถือโอกาสนี้ตั้งชื่อรุ่นให้นักศึกษาเป็น รุ่น “สู้โควิด”  สำหรับ DPU ถือเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกๆ ของไทย ก่อตั้งโดยอาจารย์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และอาจารย์สนั่น เกตุทัต ผู้ร่วมก่อตั้งที่มีปณิธานต้องการสร้างบุคลากรให้เป็นกำลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงกลายเป็นปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ “นักธุรกิจเป็นผู้สร้างชาติ” ด้วยความเชื่อว่าประเทศไทยจะเข้มแข็งและมั่งคั่งได้เศรษฐกิจจะต้องดี ผู้บริหารสถาบันทุกรุ่นจึงยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัญญานี้เรื่อยมา อย่างไรก็ตาม แม้มหาวิทยาลัยจะมีหลากหลายสาขาแต่ภาพที่ต้องการมากที่สุด คือ นักศึกษาได้แนวคิดเชิงผู้ประกอบการหรือทักษะผู้ประกอบการ ที่สามารถนำมาสร้างธุรกิจหรือเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้

ดร.ดาริกา กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยยังคงยึดถือ วิสัยทัศน์ในการเป็นสถาบันหลักที่จะขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสู่ธุรกิจยุคใหม่และบูรณาการประชาคมอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ( DPU will be a Major Driver Force in New Business Transformation and AEC+China Integration ) โดยพร้อมเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจต่างๆ ปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่ธุรกิจยุคใหม่ การร่วมบูรณาการกับประชาคมอาเซียน และสาธารณรัฐประชาชนจีน นักศึกษาที่ได้เข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัย จะเห็นกิจกรรมด้านต่างๆ อาทิ ด้านวิชาการ สันทนาการ รวมถึงงานวิจัย ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้

นอกจากนี้ DPU ยังมีหลักสูตรแกนหลักที่สำคัญ ในการเพิ่มทุกทักษะด้านธุรกิจรวมทั้งด้านอื่นๆ ให้กับนักศึกษาได้มีความพร้อมในหลากหลายอาชีพในยุคหลังโควิด-19 คือ หลักสูตร DPU Core ซึ่งมี 4 Module ได้แก่

1. Creativity for New Economy ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเศรษฐกิจยุคใหม่

2. Innovation Technology for Modern Lifestyle นวัตกรรมการใช้เทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่

3. Data Analytics for Business Opportunities การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจ

4. Entrepreneurship in Digital Era ทักษะการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล

ซึ่งทุกสาขาที่นักศึกษาสนใจสามารถนำทักษะเชิงผู้ประกอบการไปควบรวม เพื่อสร้างมูลค่าให้ธุรกิจ เพราะฉะนั้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการจึงสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะยุคที่ต้องปรับตัวใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ต้องอาศัยธุรกิจรูปแบบใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและช่วยกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจของโลก 

Check Also

วิศวะมหิดล เปิดหลักสูตรใหม่ “มินิ-วิศวกรรมการเงิน (MINI-FE)” 120 ชม. รับสมัครวันนี้ – 27 มี.ค. 64

โลกเปลี่ยน…ชีวิตและธุรกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีฟินเทค ทำให้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำนวนมากที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี เช่น ตราสารทุน หรือ หุ้น, ตราสารหนี้ ตลอดจนกองทุนต่างๆ อย่างไรก็ตามการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงย่อมมีความเสี่ยงสูง คนไทยและนักลงทุนควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านวิศวกรรมการเงิน (Financial Engineering) ซึ่งเป็นศาสตร์การนำความรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เปรียบเสมือนการออกแบบกลไกผลิตกระแสเงินสด หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล นอกจากนี้ …

กสอ.ร่วมกับ Innogineer วิศวะมหิดล จัด The Journey To Startup Connect บ่มเพาะสตาร์ทอัพ สาย Deep-Tech

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ INNOGINEER ศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวิร์คช็อปออนไลน์ 8 วัน โครงการ The Journey To Startup Connect …